การจัดฟันจำเป็นต้องถอนฟันคุดออกหรือไม่

จัดฟันไม่ผ่าฟันคุดได้หรือไม่

ฟันคุด, ฟันเกิน, ฟันฝัง คือสิ่งที่คนไข้จัดฟันหลายคน ตลอดจนผู้ปกครองมักกลัวหรือยังไม่เข้าใจ ทำไมต้องเอาออก แค่อยากจัดฟันไม่ใช่อยากผ่าฟันคุด ไม่ผ่าฟันคุดได้ไหม บางคนกลัวมาก ถึงขนาดจะเลิกจัดฟันหรือยอมที่จะไม่จัดฟันหากต้องผ่าฟันคุด
อ่านเพิ่มเติม การจัดฟันจำเป็นต้องถอนฟันคุดออกหรือไม่

ไม่จำเป็นต้องผ่าฟันคุดทุกคน

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่ต้องผ่า หากฟันคุดขึ้นตรงก็ไม่ต้องเอาออก หรือเด็กๆ อายุ 10-14 ปี ที่ฟันคุดยังไม่สร้างปัญหาและไม่มีการเคลื่อนฟันกรามไปข้างหลัง ก็ยังไม่จำเป็นต้องผ่าออก

ถ้าจำเป็นยังไงก็ต้องเอาออก

ผู้ที่จัดฟัน หากพบว่ามีฟันคุด, ฟันเกิน, ฟันฝัง ก็มักจะต้องเอาออกเพื่อป้องกันปัญหา ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการจัดฟัน ส่วนผู้ที่ไม่ได้จัดฟัน หากตรวจพบก็ต้องเอาออกเช่นกัน เพราะมันอาจจะเป็นอันตรายในอนาคตในแบบที่คุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

ฟันคุดคืออะไร

คือฟันกรามซี่สุดท้าย ปกติฟันซี่นี้จะขึ้นในช่วงอายุ 16-25 ปี ซึ่งหากไม่ขึ้นหรือขึ้นไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่เพียงพอ ก็จะกลายเป็นฟันคุด ฟันคุดบางซี่จมอยู่ใต้กระดูกบางส่วน บางซี่อาจมองไม่เห็นเลย เพราะจมอยู่ใต้เหงือกทั้งหมด ต้องเอกซเรย์จึงจะเห็น แต่ฟันซี่อื่นที่ไม่ใช่ฟันกรามซี่ในสุด หากขึ้นไม่ได้และไปชนกับฟันซี่อื่น เราก็เรียกฟันคุดเหมือนกัน ซี่งทันตแพทย์จะแนะนำว่าจำเป็นต้องผ่าฟันคุดหรือไม่

ฟันฝังคืออะไร

ฟันฝัง คือฟันที่ขึ้นเองไม่ได้ตามธรรมชาติ และถูกฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร โดยที่ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใด ไปชนกับฟันซี่ข้างเคียงเหมือนฟันคุด

ฟันเกินคืออะไร

ฟันเกิน คือฟันที่มีเกินขึ้นมาโดยที่ฟันซี่อื่นๆ มีครบ ฟันเกินอาจมีเพียงซี่เดียวหรือหลายซี่ก็ได้ ฟันเกินมีทั้งที่งอกขึ้นมาได้ และฝังอยู่ในกระดูกในขากรรไกรเหมือนฟันฝัง

จัดฟัน ผ่าฟันคุดเพื่ออะไร

ฟันคุด ฟันเกิน ฟันฝัง “เป็นเหมือนระเบิดเวลา” ที่อยู่ในปากเรา บางคนมีฟันคุด ฟันเกิน แต่ก็สามารถอยู่ได้เรื่อยๆ โดยที่ไม่มีอาการอะไร แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะโชคดีแบบนี้ แต่ในอนาคต เมื่อเราอายุมากขึ้น หากมันมีปัญหา การรักษาก็อาจจะยุ่งยากขึ้น เราต้องเจ็บตัวมากขึ้น ต้องเสียเงินค่ารักษาเพิ่มขึ้นอีก
ต่อไปนี้คือเหตุผลดีๆ ที่คุณควร หรือต้องผ่าเอาฟันคุด ฟันเกิน ฟันฝัง ออก
อ่านเพิมเติม
การผ่าฟันคุด
การจัดฟันจำเป็นต้องถอนฟันคุดออกหรือไม่

– ป้องกันอันตรายจากเหงือกอักเสบ

ฟันคุดที่ขึ้นตรง แต่ขึ้นได้ไม่เต็มซี่ เหงือกจึงคลุมฟันบางส่วนไว้ เมื่อมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วทำความสะอาดไม่ดี เหงือกจะอักเสบ มีกลิ่น ปวดและบวมเป็นหนอง หากทิ้งไว้ไม่ยอมรักษา อาการอาจรุนแรง ถึงขั้นติดเชื้อลามยังใบหน้าและลำคอ หน้าบวม เชื้อโรคสามารถแพร่ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย แบบนี้อันตราย

– ป้องกันฟันซี่ข้างเคียงผุ

ฟันคุดที่ขึ้นไม่ตรง และไปชนกับฟันซี่หน้า ทำให้ตำแหน่งที่ชนเกิดเป็นซอกลึก มักมีเศษอาหารเข้าไปติด ทำความสะอาดยาก นานเข้าฟันที่โดนชนก็ผุ พอเริ่มรู้สึกปวด ฟันที่ถูกชนมักผุมาก ผุจนถึงโพรงประสาทฟัน และจำเป็นต้องรักษารากฟัน เพื่อเก็บฟันไว้ แต่ถ้าการรักษารากล้มเหลว หรือไม่ได้รักษา จนต้องถอนฟันซี่นั้นออก เราก็จะเสียฟันดีๆ ไปอีกหนึ่งซี่ ถ้าเราจัดฟันด้วย แผนการรักษาจะเปลี่ยนทันที อาจทำให้ใช้เวลาจัดฟันมากขึ้น เสียเงินมากขึ้น หรืออาจต้องใส่ฟันปลอม เพราะไม่สามารถจัดฟันเพื่อปิดช่องว่างนี้ได้
อ่านเพิ่มเติม ใส่ฟันปลอม จัดฟันได้ไหม ตอบคำถามชัดครบทุกเรื่อง

– ป้องกันโรคปริทันต์อักเสบ

ฟันคุดที่ขึ้นไม่ตรง และไปชนกับฟันซี่ข้างหน้า ตำแหน่งที่ชนเกิดเป็นซอกลึกและแคบ มักมีเศษอาหารเข้าไปติด และทำความสะอาดยาก เนื่องจากอยู่ในซอกลึก นานเข้าก็กลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ที่สามารถทำลายกระดูกเบ้าฟันไปเรื่อยๆ จนไม่เหลือกระดูกให้ฟันอยู่ สุดท้ายคงต้องเสียฟันดีๆ เพิ่มอีกหนึ่งซี่

อ่านเพิ่มเติม โรคเหงือกคืออะไร สาเหตุโรคเหงือก สัญญาณโรคเหงือก

– ป้องกันรากฟันซี่ข้างเคียงละลาย

ฟันคุดที่ขึ้นไม่ตรง และไปชนกับรากฟันซี่ข้างหน้า มันสามารถชนไปเรื่อยๆ จนรากฟันซี่นั้นละลาย ผลคือต้องเสียฟันดีๆ ไปอีกหนึ่งซี่ ยิ่งถ้าจัดฟันด้วย เรื่องจะวุ่นวายขึ้น เหมือนที่ได้บอกไป

อ่านเพิ่มเติม
การรักษารากฟัน
ฟันผุลึก ไม่อยากถอน การรักษารากฟันคือคำตอบ!

ปรึกษา | ประเมินราคาฟรี! ผ่าน Online Consult
Line ID : @dentajoy
Inbox : https://m.me/DentajoyDental
สอบถามข้อมูลหรือนัดหมายได้ที่ : 095-491-8659